Month: October 2015

จากแต่ก่อนหนังสือธรรมดาเป็นปัจจุบันไม่ต้องอ่านหนังสือก็มีเสียงอ่านให้

                จากเมื่อก่อนนั้นหนังสือที่เรามีนั้นก็เป็นหนังสือธรรมดาการจะอ่านได้นั้นต้องอ่านหนังสือออกก่อนถึงจะเข้าใจเนื้อหาว่าเขียนถึงอะไรเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรเปิดไปก็เห็นแต่ตัวอักษรไม่ค่อยมีอะไรแปลกใหม่พัฒนามาเรื่อยๆก็มีการเพิ่มรูปภาพประกอบเข้าไปด้วยเป็นการเพิ่มสีสันอีกอย่างทำให้ตื่นตาตื่นใจกว่าเดิมไม่ต้องไปหาว่าสิ่งที่หนังสือนั้นบอกไว้เป็นอย่างไรจากที่อื่นเพราะมีรูปไว้เรียบร้อยแล้วทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นถ้าหนังสือกล่าวถึงแมวแต่สูญพันธ์ไปแล้วก็ดูรูปเพื่อให้รู้ถึงรูปลักษณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันนั้นหนังสือได้พัฒนาไปในอีกรูปแบบหนึ่งคือมาในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นเล่มเหมือนสมัยก่อนแต่มาเป็นในแบบของสื่อต่างๆที่ประยุกต์มาอย่างดีทำให้ไม่ว่าคนตาดีหรือตาบอดนั้นก็สามารถอ่านได้จากเมื่อก่อนแค่คนตาดีถึงจะอ่านได้ ก็ได้ประยุกต์รวมกับลักษณะการบรรยายละครทางวิทยุสมัยก่อน คือทำรูปแบบของหนังสือมาแล้วก็นำการบรรยายเพิ่มเข้าไปทำให้คนตาไม่ดีนั้นก็สามารถฟังได้โดยที่อ่านไม่ได้เช่นกัน นี่ก็ถือว่าเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของหนังสือออนไลน์แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแบบนี้เหมือนกันหมดทุกเล่มไป ฉะนั้นการจะเลือกก็ต้องดูให้ดีก่อนว่าแบบไหนมีบรรยายหรือไม่ราคานั้นก็คงไม่เท่ากันอย่างแน่นอนหนังสือออนไลน์นั้นทุกวันนี้มีทางเลือกมากมายไม่ว่าจะเป็นจากค่ายหนังสือดังๆที่ได้มีการทำออกมาบ้างแล้วหรือแม้แต่นักเขียนอิสระก็มีการทำออกมาเองเช่นกันข้อดีก็คือจัดจำหน่ายเองได้ไม่ต้องไปเข้าร่วมกับบริษัทหนังสือรายใหญ่ให้ทางบริษัทนั้นกดราคาในการเขียนของเราได้ในเรื่องลิขสิทธิ์ หนังสือออนไลน์ถือว่าเป็นสื่ออิสระถ้าเราจะนำผลงานของเราเองมาเสนอต่อบุคคลทั่วไป

การทำหนังสือออนไลน์เป็นอย่างไรยากหรือไม่หรือใครอยากจะทำเองก็ได้

แม้ว่าจะเป็นหนังสือออนไลน์แล้วแต่สำหรับสำนักพิมพ์ต่างๆนั้นเมื่อมีการทำหนังสือแต่ละเล่มนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีการทำเป็นไฟล์ต้นฉบับพร้อมตีพิมพ์ในโปรแกรมต่างๆนอกจากเขียนแบบร่างด้วยมือ ปกติแล้วไฟล์ต้นฉบับถ้านิยมเปิดด้วยโปรแกรมนั้นก็จะเป็น Photoshop กันมากกว่าโปรแกรมอื่นโดยสามารถเลือกตัวหนังสือในการทำได้หลากหลายแบบเพื่อไม่ให้ตัวหนังสือนั้นเป็นแบบมาตรฐานเดิมๆเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้หนังสือดูหน้าอ่านไปอีกการตกแต่งภาพนั้นก็ทำได้ง่ายขึ้นด้วย ด้วยคุณสมบัติของโปรแกรมเองทำให้แก้ไขได้ในกรณีที่ส่งไปสำนักพิมพ์แล้วเกิดต้องมีการเปลี่ยนแปลงทีหลัง สำหรับการทำหนังสือออนไลน์นั้นถ้าเกิดว่าเรามีไฟล์ต้นฉบับเป็นแบบที่บอกแล้วนั้นก็จะทำให้ขั้นตอนการทำนั้นง่ายลงไปอีกเยอะเพราะถ้าต้องการให้หนังสือเล่นไหนเป็นหนังสือออนไลน์ก็แค่นำไฟล์มาไปเปิดกับโปรแกรมเฉพาะที่ใช้ทำหนังสือออนไลน์จัดเรียงเพิ่มเติมซักเล็กน้อยแล้วทำการอัพโหลดลงสื่ออื่นๆได้เลยหรือจำพวกแอพพลิเคชั่นในมือถือลูกค้าก็สามารถเข้ามาซื้อหรือใช้งานได้ทันที โดยถ้าจะทำหนังสือออนไลน์ในแอพพลิเคชั่นแนะนำว่าให้ทำเป็นไฟล์ PDF จะดีกว่าเพราะว่าโดยรวมเมื่อเทียบกับไฟล์ที่จำเป็นต้องใช้นั้นถือว่าเป็นไฟล์ขนาดเล็กสุดความคมชัดก็ถือว่าดีทีเดียวเพราะถ้าทำเป็นไฟล์อื่นนั้นตัวอักษรรวมกับรูปภาพแล้วจะยิ่งทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ซึ่งไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้กับอุปกรณ์อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือที่บรรจุข้อมูลได้น้อยอีกทั้งยังจะทำให้ความสามารถในการเปิดอ่านลดลง หนังสือออนไลน์นั้นได้มีการเปิดสอนเรียนการทำมากมายหลายที่หรือไม่ก็หาข้อมูลการทำจากที่อื่นก็ได้เช่นกันมีการสอนในรูปแบบหนังสือออนไลน์พร้อมทั้งแนะนำโปรแกรมการใช้งานไว้ด้วย ถ้าใครอยากมีหนังสือออนไลน์เป็นของตัวเองนั้นก็ลองศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆได้เช่นกัน

หนังสือคือความรู้อย่างหนึ่งต่อให้เป็นยังไงก็คือหนังสือไม่ว่าจะแบบไหน

                หนังสือสมัยนี้มีอยู่ 2 แบบคือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสือกระดาษนั้นเรามีกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบันก็ราวๆเกือบ 200ปีมาแล้วที่มีการทำขึ้นมา แต่ผู้ที่ทำหนังสือเล่มแรกนั้นไม่ใช่คนไทยแต่กลับเป็นชาวต่างชาติที่เป็นทั้งหมอ บาทหลวง ถือว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเวลานั้นที่ได้มีหนังสือให้อ่านนอกจากใบลานที่ใช้กันมาสมัยกรุงศรี หนังสือกระดาษนั้นการดูแลรักษาก็จะเป็นในเรื่องของการไม่ให้โดนน้ำยิ่งพวกหนังสือที่เก่าเก็บนั้นก็จะยิ่งทำให้ดูแลรักษาได้ยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเพราะจะยิ่งกรอบสีของกระดาษก็จะเปลี่ยนไปตามเวลาไหนจะเรื่องของแมลงที่กินหรือเอาหนังสือไปทำรัง ถ้าเกิดว่ามีเยอะๆนั้นก็จะเสียพื้นที่ในการเก็บอีกจำนวนมากทำให้รกบ้านได้ แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นคงไม่ต้องกังวลเรื่องพวกนี้เพราะนานแค่ไหนก็เหมือนเดิมไม่ว่าจะกี่ปีก็ตามโดนน้ำไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้สามารถแบ่งให้คนอื่นอ่านได้เช่นกันไม่เสียพื้นบ้านที่ในการเก็บถ้าเรามีจำนวนมากๆค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษานั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับหนังสือจริงถ้าเมื่อเต็มโทรศัพท์แล้วก็สามารถโอนถ่ายไปไว้ที่อื่นได้แล้วค่อยซื้อเพิ่มใหม่ได้อีกเช่นเดิม รูปภาพเนื้อเรื่องนั้นก็เหมือนหนังสือปกติสีอาจจะสดใสอยู่ตลอดทุกครั้งที่เปิดดูแต่สิ่งที่จะเสียแทนเนื้อที่บ้านในการเก็บหนังสือเยอะๆนั้นคือโทรศัพท์นั้นเองเพราะก็ต้องชาร์จแบตมือถืออยู่บ่อยขึ้นแต่ถ้าเราเอาไปเปิดที่คอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกันเมื่อซื้อมาแล้วนั้นก็เป็นสิทธิ์ของเราเหมือนหนังสือจริงๆเลยคนสูงอายุก็อาจจะลำบากอยู่ซักหน่อยก็ตรงที่ว่าอาจจะมองไม่ค่อยชัดเจนตัวหนังสือถึงแม้จะขยายได้แต่ก็ต้องเลื่อนไปมาเพื่อให้เห็นตัวหนังสือต่อๆไปอยู่บ่อยๆอย่างไรแล้วก็ลองพิจารณากันดูว่าเรานั้นเหมาะสมกับแบบไหนมากกว่า