หนังสือคือความรู้อย่างหนึ่งต่อให้เป็นยังไงก็คือหนังสือไม่ว่าจะแบบไหน

knfj9a

knfj9a                หนังสือสมัยนี้มีอยู่ 2 แบบคือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสือกระดาษนั้นเรามีกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบันก็ราวๆเกือบ 200ปีมาแล้วที่มีการทำขึ้นมา แต่ผู้ที่ทำหนังสือเล่มแรกนั้นไม่ใช่คนไทยแต่กลับเป็นชาวต่างชาติที่เป็นทั้งหมอ บาทหลวง ถือว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเวลานั้นที่ได้มีหนังสือให้อ่านนอกจากใบลานที่ใช้กันมาสมัยกรุงศรี หนังสือกระดาษนั้นการดูแลรักษาก็จะเป็นในเรื่องของการไม่ให้โดนน้ำยิ่งพวกหนังสือที่เก่าเก็บนั้นก็จะยิ่งทำให้ดูแลรักษาได้ยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเพราะจะยิ่งกรอบสีของกระดาษก็จะเปลี่ยนไปตามเวลาไหนจะเรื่องของแมลงที่กินหรือเอาหนังสือไปทำรัง ถ้าเกิดว่ามีเยอะๆนั้นก็จะเสียพื้นที่ในการเก็บอีกจำนวนมากทำให้รกบ้านได้

แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นคงไม่ต้องกังวลเรื่องพวกนี้เพราะนานแค่ไหนก็เหมือนเดิมไม่ว่าจะกี่ปีก็ตามโดนน้ำไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้สามารถแบ่งให้คนอื่นอ่านได้เช่นกันไม่เสียพื้นบ้านที่ในการเก็บถ้าเรามีจำนวนมากๆค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษานั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับหนังสือจริงถ้าเมื่อเต็มโทรศัพท์แล้วก็สามารถโอนถ่ายไปไว้ที่อื่นได้แล้วค่อยซื้อเพิ่มใหม่ได้อีกเช่นเดิม รูปภาพเนื้อเรื่องนั้นก็เหมือนหนังสือปกติสีอาจจะสดใสอยู่ตลอดทุกครั้งที่เปิดดูแต่สิ่งที่จะเสียแทนเนื้อที่บ้านในการเก็บหนังสือเยอะๆนั้นคือโทรศัพท์นั้นเองเพราะก็ต้องชาร์จแบตมือถืออยู่บ่อยขึ้นแต่ถ้าเราเอาไปเปิดที่คอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกันเมื่อซื้อมาแล้วนั้นก็เป็นสิทธิ์ของเราเหมือนหนังสือจริงๆเลยคนสูงอายุก็อาจจะลำบากอยู่ซักหน่อยก็ตรงที่ว่าอาจจะมองไม่ค่อยชัดเจนตัวหนังสือถึงแม้จะขยายได้แต่ก็ต้องเลื่อนไปมาเพื่อให้เห็นตัวหนังสือต่อๆไปอยู่บ่อยๆอย่างไรแล้วก็ลองพิจารณากันดูว่าเรานั้นเหมาะสมกับแบบไหนมากกว่า